6 กลุ่มอาหารต้านภูมิแพ้

“โรคภูมิแพ้” เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มีต่อสารก่อภูมิแพ้ ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะ และแสดงออกมาผ่านทางผิวหนัง คัดจมูก คันตา เจ็บคอ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ซึ่งโรคนี้พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งชายและหญิง  วันนี้เรามาดูกันว่า 6 กลุ่มอาหารต้านโรคภูมิแพ้ มีอะไรบ้างรีบอ่าน แล้วหามารับประทานกันเลย

  1. กลุ่มวิตามินซี: วิตามินซี มีส่วนช่วยในการป้องกันการหลั่งฮีสตามีน ซึ่งสารสำคัญที่ร่างกายสร้างขึ้นและทำให้เกิดอาการภูมิแพ้

อาหารเพิ่มวิตามินซี : ในผักใบเขียว เช่น ตำลึง ผักโขม บร็อคโคลี กะหล่ำปลี ในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น สับปะรด ส้ม สตรอเบอรี่ มะนาว โดยวัตถุดิบเหล่านี้สามารถดัดแปลงเมนูได้ตามที่คุณต้องการ หากใครไม่ชอบทานผักแต่ต้องการวิตามินซีสูง สามารถกดลิ้งค์เข้าไปดูอาหารเสริมวิตามินซีทางเลือกได้เลย

https://jp90group.com/product-category/%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%a3%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%a0%e0%b8%b9%e0%b8%a1%e0%b8%b4%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b9%89%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%99/

  1. กลุ่มวิตามินเอ: ช่วยในเรื่องการสร้างเนื้อเยื่อ และช่วยเสริมสร้างเยื่อบุต่างๆ ของร่างกาย ช่วยปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในทางเดินหายใจและทางเดินอาหารให้สมดุล

อาหารเพิ่มวิตามิน : วิตามินชนิดนี้พบมากในกลุ่มผักผลไม้ที่มีสีเขียวเข้ม สีส้ม หรือสีเหลือง เช่น ฟักทอง     แครอท มะละกอสุก มะม่วงสุก แคนตาลูป มะเขือเทศ เป็นต้น

  1. กลุ่มโปรตีน : โปรตีนกลุ่มนี้สามารถช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายได้ เพราะหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีนคือกรดอะมิโน ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการนำไปสร้างภูมิคุ้มกันต่างๆ

อาหารเพิ่มโปรตีน : อย่างที่ทราบกันดี โปรตีนเป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ ซึ่งจะมีมากในเนื้อสัตว์ที่เป็นเนื้อล้วน อย่างเนื้ออกไก่ เนื้อหมู และไข่ไก่ นอกจากนี้ก็ยังพบได้ในถั่วต่างๆ

  1. กลุ่มโอเมก้า 3 : โอเมก้า 3 จะช่วยลดอาการอักเสบ ปรับภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยในการตอบสนอง  ต่อเชื้อโรค และสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้เป็นอย่างดี

อาหารเพิ่มโอเมก้า 3 : คุณสามารถเลือกทานได้จาก ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาทู ปลาทูน่า ปลาแซลมอน ปลากะพง ซึ่งอาหารกลุ่มนี้อาจมีส่วนไปกระตุ้นอาการภูมิแพ้ได้ ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่นอนก่อนว่าคุณแพ้อาหารทะเลหรือไม่ ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 3 ก็มีประโยชน์เช่นกัน พบมากในเมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วเหลือง และผักใบสีเขียวเข้ม

  1. กลุ่มซีลิเนียม : สารอาหารกลุ่มนี้จะช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม หรือสารกระตุ้นภูมิแพ้ได้

อาหารเพิ่มซีลิเนียม : พบมากในพืชตระกูลหอม เช่น หอมหัวใหญ่ หอมแดง เป็นต้น

6. กลุ่มฟลาโวนอยด์เควอเซทิน : สารชนิดนี้เป็นสารต้านอาการแพ้และลดการอักเสบ ช่วยยับยั้งการปล่อยสารฮิสตามินซึ่งทำให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้

อาหารเพิ่มฟลาโวนอยด์เควอเซทิน : พบมากในกระเทียม และพืชตระกูลหอม อย่างหอมหัวใหญ่

หอมหัวแดง และในแครอทผักกาดหอม แอปเปิ้ล เป็นต้น

 

สาเหตุของโรค

สำหรับสาเหตุเช่นนั้นเกิดจากกรรมพันธุ์และสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม แต่สารก่อภูมิแพ้ส่วนใหญ่ที่พบบ่อยเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ทำให้คนส่วนใหญ่เป็นเรื้อรัง ฝุ่นละออง ละอองเกสร ขนสัตว์เลี้ยง

ทั้งนี้คำแนะนำนี้เหมาะกับผู้ที่ไม่ได้แพ้อาหารเหล่านี้ หากไม่แน่ใจควรปรึกษาแพทย์ นอกจากการทานอาหารต้านโรคภูมิแพ้เหล่านี้แล้ว อย่าลืมออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นอาการ ร่วมด้วย เพื่อให้คุณมีร่างกายที่แข็งแรงและไกลโรคอย่างแท้จริง

 

ที่มา: คัดลอกบางส่วนจากเว็บไซต์รพ.สมติเวช